วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud)

ซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud)


เจ้าแห่งทฤษฎีจิตวิเคราะห์แผนใหม่


ซิกมุนด์ ฟรอยด์ เกิดวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1856 เป็นประสาทแพทย์ชาวออสเตรีย ผู้เป็นที่รู้จักในฐานะบิดาแห่งจิตวิเคราะห์



บิดามารดาของฟรอยด์ยากจน แต่ได้ส่งเสียให้ฟรอยด์ได้รับการศึกษา เขาสนใจกฎหมายเมื่อครั้งเป็นนักเรียน แต่เปลี่ยนไปศึกษาแพทยศาสตร์แทน โดยรับผิดชอบการวิจัยโรคสมองพิการ ภาวะเสียการสื่อความ และจุลประสาทกายวิภาคศาสตร์ เขาเดินหน้าเพื่อพัฒนาทฤษฎีเกี่ยวกับจิตไร้สำนึกและกลไกของการกดเก็บ และตั้งสาขาจิตบำบัดด้วยวาจา โดยตั้งจิตวิเคราะห์ ซึ่งเป็นวิธีการทางคลินิกเพื่อรักษาจิตพยาธิวิทยาผ่านบทสนทนาและระหว่างผู้รับการรักษากับนักจิตวิเคราะห์แม้จิตวิเคราะห์จะใช้เป็นการปฏิบัติเพื่อการรักษาลดลง แต่ก็ได้บันดาลใจแก่การพัฒนาจิตบำบัดอื่นอีกหลายรูปแบบ ซึ่งบางรูปแบบแตกออกจากแนวคิดและวิธีการดั้งเดิมของฟรอยด์


ฟรอยด์ตั้งสมมุติฐานการมีอยู่ของ libido (พลังงานซึ่งให้กับขบวนการและโครงสร้างทางจิต) พัฒนาเทคนิคเพื่อการรักษา เช่น การใช้ความสัมพันธ์เสรี (ซึ่งผู้เข้ารับการรักษารายงานความคิดของตนโดยไม่มีการสงวน และต้องไม่พยายามเพ่งความสนใจขณะทำเช่นนั้น) ค้นพบการถ่ายโยงความรู้สึก (ขบวนการที่ผู้รับการรักษาย้ายที่ความรู้สึกของตนจากประสบการณ์ภาพในอดีตของชีวิตไปยังนักจิตวิเคราะห์) และตั้งบทบาทศูนย์กลางของมันในขบวนการวิเคราะห์ และเสนอว่า ความฝันช่วยรักษาการนอนหลับ โดยเป็นเครื่องหมายของความปรารถนาที่สมหวัง ที่หาไม่แล้วจะปลุกผู้ฝัน เขายังเป็นนักเขียนบทความที่มีผลงานมากมาย โดยใช้จิตวิเคราะห์ตีความและวิจารณ์วัฒนธรรม



จิตวิเคราะห์ยังทรงอิทธิพลอยู่ในทางจิตเวชศาสตร์และต่อมนุษยศาสตร์โดยรวม แม้ผู้วิจารณ์บางคนจะมองว่าเป็นวิทยาศาสตร์ลวงโลกและกีดกันทางเพศการศึกษาเมื่อ ค.ศ. 2008 เสนอว่า จิตวิเคราะห์ถูกลดความสำคัญในสาขาจิตวิทยาในมหาวิทยาลัย แม้ว่าทฤษฎีของฟรอยด์จะมีเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์อยู่ก็ตาม แต่ผลงานของเขาได้รับการตีแผ่ในความคิดเชิงปัญญาและวัฒนธรรมสมัยนิยม


ผลงานของ ซิกมุนด์ ฟรอยด์ 

จิตไร้สำนึก

มโนทัศน์จิตไร้สำนึกเป็นศูนย์กลางการบรรยายจิตของฟรอยด์ ฟรอยด์เชื่อว่า กวีและนักคิดผิวขาวรู้ถึงการมีอยู่ของจิตไร้สำนึกมานานแล้ว เขามั่นใจว่า จิตไร้สำนึกได้รับการรับรองอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ในสาขาจิตวิทยา อย่างไรก็ดี มโนทัศน์ดังกล่าวปรากฏขึ้นอย่างไม่เป็นทางการในงานเขียนของฟรอยด์ ครั้งแรกถูกเสนอมาเชื่อมโยงกับปรากฏการณ์การกดเก็บ เพื่ออธิบายว่าเกิดอะไรขึ้นต่อความคิดซึ่งถูกกดเก็บ ฟรอยด์ระบุชัดเจนว่า มโนทัศน์จิตไร้สำนึกอาศัยทฤษฎีการกดเก็บ เขาตั้งสมมุติฐานวัฏจักรที่ความคิดถูกกดเก็บ แต่ยังคงอยู่ในจิต โดยนำออกจากความรู้สึกตัวแต่ยังเกิดผลอยู่ แล้วกลับมาปรากฏในความรู้สึกตัวอีกครั้งภายใต้กรณีแวดล้อมบางประการ สมมุติฐานดังกล่าวอาศัยการสืบค้นผู้รับการรักษา traumatic hysteria ซึ่งเปิดเผยผู้รับการรักษาที่พฤติกรรมของผู้ป่วยไม่สามารถอธิบายได้โดยไม่อ้างอิงถึงความคิดที่พวกเขาไม่มีสติ ข้อเท็จจริงนี้ ประกอบกับการสังเกตว่า พฤติกรรมเช่นนั้น มนุษย์อาจชักนำให้เกิดได้โดยการสะกดจิต ซึ่งความคิดจะถูกใส่เข้าไปในจิตของบุคคล แนะนัยว่า แนวคิดเกิดผลอยู่ในผู้รับการรักษาดั้งเดิม แม้ว่าผู้รับการทดลองจะไม่ทราบถึงความคิดนั้นก็ตาม



พัฒนาการความต้องการทางเพศ

ฟรอยด์เชื่อว่า libido หรือความต้องการทางเพศนี้พัฒนาขึ้นในปัจเจกบุคคลโดยการเปลี่ยนแปลงวัตถุ ขบวนการซึ่งประมวลโดยมโนทัศน์การเปลี่ยนให้เป็นที่ยอมรับ (sublimation) เขาแย้งว่า มนุษย์เกิดมา "วิตถารหลายรูปแบบ" หมายความว่า วัตถุใด ๆ ก็เป็นแหล่งความพึงพอใจได้ เขายังแย้งต่อไปว่า เมื่อมนุษย์พัฒนาขึ้น พวกเขาจะติดข้องในวัตถุต่าง ๆ ผ่านขั้นพัฒนาการของเขา ได้แก่ ขั้นปาก ยกตัวอย่างเช่น ความพึงพอใจของทารกในการเลี้ยงดู ขั้นทวารหนัก ยกตัวอย่างเช่น ความพึงพอใจของเด็กเล็กในการถ่ายที่กระโถนของตน แล้วมาสู่ขั้นอวัยวะเพศ ในขั้นอวัยวะเพศนี้ ฟรอยด์ยืนยันว่า ทารกชายจะติดข้องต่อมารดาของตนเป็นวัตถุทางเพศ (รู้จักในชื่อ ปมเอดิเพิส) ระยะซึ่งสิ้นสุดลงด้วยการขู่ว่าจะตอน (castration) ซึ่งส่งผลให้เกิด ปมการตอน อันเป็นแผลที่ร้ายแรงที่สุดในชีวิตวัยเยาว์ของเขา ในงานเขียนภายหลังของเขา ฟรอยด์ได้ตั้งสมมุติฐานถึงสถานการณ์ที่เทียบเท่ากับปมเอดิปุสในทารกหญิง โดยเป็นการติดข้องทางเพศอยู่กับบิดาของตน เรียกว่า "ปมอิเล็กตรา" ในบริบทนี้ แม้ว่าฟรอยด์จะมิได้เสนอคำดังกล่าวเองก็ตาม พัฒนาการความต้องการทางเพศขั้นแฝงอยู่ก่อนพัฒนาการความต้องการทางเพศขั้นสนใจเพศตรงข้าม เด็กต้องการได้รับความพึงพอใจในปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละขั้นเพื่อที่จะก้าวสู่ขั้นพัฒนาการต่อไปอย่างง่ายดาย แต่การได้รับความพึงพอใจน้อยหรือมากเกินไปอาจนำไปสู่การติดข้องในขั้นนั้น และอาจก่อให้เกิดพฤติกรรมถดถอยกลับไปยังขั้นนั้นในชีวิตภายหลังได้






อิด อัตตาและอภิอัตตา

"อิด" (id) เป็นส่วนของจิตใจที่ไร้สำนึก หุนหันพลันแล่นและเหมือนเด็กซึ่งปฏิบัติการบน "หลักความพึงพอใจ" และเป็นแหล่งที่มาของแรงกระตุ้นและแรงขับพื้นฐาน อิดแสวงความต้องการและความพึงพอใจทันที ส่วนอภิอัตตา (superego) เป็นองค์ประกอบทางศีลธรรมของจิตใจ ซึ่งพิจารณาว่า ไม่มีกรณีแวดล้อมพิเศษใดที่สิ่งที่ถูกต้องทางศีลธรรมอาจไม่ถูกต้องต่อสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น อัตตา (ego) ที่ปฏิบัติการอย่างเป็นเหตุเป็นผล พยายามรักษาสมดุลระหว่างการแสวงความพึงพอใจของอิดและการเน้นศีลธรรมของอภิอัตตาซึ่งปฏิบัติไม่ได้จริง อัตตาเป็นส่วนของจิตใจที่โดยปกติสะท้อนโดยตรงในการแสดงออกของบุคคลมากที่สุด เมื่อรับภาระหนักเกินไปหรือถูกคุกคามจากหน้าที่ของอัตตา มันจะใช้กลไกป้องกันตนเอง ซึ่งรวมถึงการปฏิเสธ การกดเก็บและการย้ายที่ มโนทัศน์นี้โดยปกติแสดงภาพโดย "แบบจำลองภูเขาน้ำแข็ง" แบบจำลองนี้แสดงบทบาทของอิด อัตตาและอภิอัตตาตามความคิดเกี่ยวกับ ภาวะรู้สำนึกและไม่รู้สำนึก
ฟรอยด์เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างอัตตากับอิดว่าเหมือนสารถีกับม้า โดยม้าเป็นพลังงานและแรงขับ ส่วนสารถีคอยชี้นำ
ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud)  แบ่งจิตออกเป็น 3 ระดับดังนี้
1.        จิตสำนึกหรือจิตรู้สำนึก (Conscious mind) หมายถึงภาวะจิตที่รู้ตัวอยู่ได้แก่ การแสดพฤติกรรม เพื่อให้ สอดคล้องกับหลักแห่งความเป็นจริง           
2.         จิตกึ่งสำนึก (Subconscious mind) หมายถึงภาวะจิตที่ระลึกถึงได้ รองศาสตราจารย์ กลมรัตน์ หล้าสุวงษ์ (2528 : 35)ได้กล่าวถึงSubconscious mind  ว่าหมายถึงส่วนของจิตใจ ที่มิได้แสดงออกเป็นพฤติกรรม ในขณะนั้น แต่ เป็นส่วนที่รู้ตัว สามารถดึงออกมใช้ได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เช่น นางสาว ก. มีน้องสาวคือนางสาว ข. ซึ่งกำลังตกหลุมรัก นาย ค. แต่นางสาว ข. เกรงว่ามารดาจะทราบความจริงจึงบอกพี่สาว มิให้เล่าให้มารดาฟัง นางสาว ก. เก็บเรื่องนี้ไว้เป็น ความลับ มิได้แพร่งพรายให้ผู้ใดทราบโดยเฉพาะมารดาแต่ ในขณะเดียวกันก็ทราบอยู่ตลอดเวลาว่า นางสาว ข. รักนาย ค. ถ้าเขาต้องการเปิดเผย เขาก็จะบอกได้ทันที       ลักขณา สิริวัฒน์ (2530 : 9) กล่าวถึง Subconscious mind ว่าผลมันเกิด จากการขัดแย้งกันระหว่าง พฤติกรรมภายใต้อิทธิพลจิตรู้สำนึกกับอิทธิพลของ จิตใต้สำนึกย่อมก่อให้เกิดการหลอกลวงตัวเองขึ้น ภายในบุคคล           
3.        จิตไร้สำนึกหรือจิตใต้สำนึก (Unconscious mind) หมายถึงภาวะจิตที่ไม่อยู่ในภาวะที่รู้ตัวระลึกถึงไม่ได้ กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์ (2524 : 121) กล่าวว่า จิตไร้สำนึกเป็นสิ่งที่ฝังลึกอยู่ภายในจิตใจ มีการเก็บกด (Repression) เอาไว้อาจเป็นเพราะ ถูกบังคับ หรือไม่สามารถแสดงอาการโต้ตอบได้ในขณะนั้นในที่สุดก็จะฝังแน่นเข้าไป จนเจ้าตัวลืมไปชั่ว ขณะจะแสดงออกมาในลักษณะการพลั้งเผลอ เช่น พลั้งปากเอ่ยชื่อ คนรักเก่าต่อหน้า คนรักใหม่ เป็นต้น      คณาจารย์ภาควิชาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (2530 : 16) กล่าวว่าสิ่งที่มีอิทธิพล จูงใจพฤติกรรมและการดำเนินชีวิตของคนเรามากที่สุดก็คือ ส่วนที่เป็นจิตใต้สำนึกและสิ่งที่คนเรามัก จะ���ก็บกดลงไปที่จิตใต้ สำนึก ก็คือความต้องการก้าวร้าว กับความต้องการทางเพศ ซึ่งจะมีแรงผลักดัน



ชีวิตส่วนตัวของ ฟรอยด์ 

ซิกมุนด์ ฟรอยด์ ชื่อเต็มคือ ซิกิสมุนด์ สโคโม ฟรอยด์ (Sigismund Schlomo Freud) เป็นชาวออสเตเรียมีเชื้อสายยิวโดยกำเนิด แม้ว่าครอบครัวของเขาจะมีฐานะทางบ้านไม่ดีนัก แต่พ่อของเขาคิดเสมอว่าต้องส่งลูกเรียนให้จบให้ได้ แต่แรกนั้นทางครอบครัวของเขาต้องการให้เขาศึกษาทางด้านกฏหมายเพื่ออกมาเป็นทนายความ แต่ในที่สุดแล้ว ฟรอยด์เลือกที่จะเรียนสาขาแพทย์ จนกระที่งจบปริญญาจาก มหาวิทยาลัย เวียนนา (University of Vienna) ฟรอยด์ สมรส กับ มาร์ธา เบอร์เนย์ส







ในยุคแรกๆที่ ฟรอยด์ ประกาศหลักการของเขา มักโดนหาว่าเป็นวิธีการของภูตผีปีศาจ 






ในปี ค.ศ. 1933 ฟรอยด์ก็ต้องเผชิญกับปัญาหาครั้งใหญ่ดังเช่นนักวิทยาศาสตร์เชื้อสายยิวทุกคนต้องเผชิญ เมื่อพรรค นาซี (Nazi) ปกครองเยอรมนี และเมื่อ ฮิตเลอร์ (Hitler) ออกคำสั่งให้ทำลายห้องทดลองและเผาตำราทั้งหมดในการกวาดล้างครั้งใหญ่ ทำให้ตำราจำนวนมากของ ฟรอยด์ ต้องถูกเผาวอดลงไปด้วย และเมื่อ นาซี เข้ายึดออสเตเรียแล้วประกาศรวมออสเตเรียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเยอมนีในปี ค.ศ. 1938 ซิกมุนด์ ฟรอย พร้อมครอบครัวทั้งหมดก็ถูกตำรวจเกสปาโต นำตัวไปสอบสวน โดยบังคับให้เขายกเลิกงานวิจัยทั้งหมด ในเดือน มิถุนายน ค.ศ. 1938 ฟรอยด์ จึงพาครอบครัวทั้งหมดหลบหนีไปอาศัยอยู่ที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ แต่ก็พำนักได้เพียงปีเดียว ก็เสียชีวิตลง 



ซิกมุนด์ ฟรอยด์ เป็นคนที่สูบซิการ์จัดมาก เขาติดซิการ์แบบแทบจะสูบมวนต่อมวนต่อเนื่องกันมาตั้งแต่วัยหนุ่มเป็นระยะเวลาหลายสิบปี และซิการ์นี้เองที่คร่าชีวิตของเขา ฟรอยด์เป็นโรคมะเร็งที่เพดานปากจากพฤติกรรมการสูบซิการ์จัดของเขานี่เอง ในปีสุดท้ายของชีวิตนั้นมะเร็งได้ลุกลามไปทั่วทั้งปากแล้ว กระทั่งเสียชีวิตลงในวันที่ 23 กันยายน ค.ศ.1939 รวมอายุได้ 83 ปี ส่วน มาร์ธา ภรรยาของฟรอยด์นั้นเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1951 ทั้งสองมีบุตรด้วยกัน 6 คน 








หนังสือ 10 นักวิทยาศาสตร์ผู้เปลี่ยนแปลงโลก 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น