วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556

อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง (Alexander Fleming)

อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง 


ผู้คนพบเพนิซิลิน 
   เกิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2424 เวล ประเทศสก็อตแลนด์ เป็นนักชีววิทยาและนักเภสัชวิทยาชาวสก็อตแลนด์เขาเป็นผู้ค้นพบเชื้อราชนิดหนึ่งชื่อว่า เพนิซิลเลียม (Penicilliam) ซึ่งต่อมาได้นำมาสกัดเป็นยาเพนนิซิลิน (Penicilin)



ทุกครั้งที่เราไปหาหมอแม้ว่าเราจะป่วยด้วยโรคอะไรก็ตาม หมอมักสันนิษฐานโรคจากข้อสงสัยในการติดเชื้อของเราเป็นอันดับแรก หมอส่วนใหญ่มักวินิจฉัยกันง่ายๆว่าติดเชื้อโรคชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นลำดับแรก แล้วจ่ายยาค่าเชื้อหรือยาปฏิชีวนะให้ก่อน ยาฆ่าเชื้อที่ดราได้มาส่วนใหญ่จะเป็นยาที่ยับยั้งหรือต่อต้านการเจริญเติบโตของเชื้อโรคนั้นๆ ซึ่งมักเป็นยาในกลุ่มที่ชื่อว่า "เพนิิซิลิน" เสียเป็นส่วนใหญ่ ยาเหล่านี้มักได้ชื่อว่าเป็น "ยาครอบจักรวาล" เนื่องจากสามารถต่อต้านเชื้อโรคต่างๆที่เป็นเหตุของการเกิดโรคร้ายแรงได้มากถึง 80 ชนิด ตั้งแต่โรคเบาไปจนกระทั่งถึงโรคหนัก ซึ่งผู้ที่เป็นคนค้นพบยาตัวนี้ ที่สามารถต่อต้านเชื้อโรคหรือแบคทีเรียที่เรากำลังจะพูดถึง ก็คือ "เซอร์ อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง" นักชีววิทยาและนักเวชศาสตร์ชาวสก็อต เป็นผู้เริ่มทดลองการหาวิธีการฆ่าเชื้อแบคทีเรียอันเป็นส่วนใหญ่ของการเกิดโรคและการเจ็บป่วยจนสามารถพบวิธีฆ่าเชื้อนั้นได้ด้วยความ "บังเอิญ" ซึ่งความบังเอิญนี้ได้ทำให้เขามีชื่อเสียงโด่งดังมากมายในวงการแพทย์ที่ได้ช่วยชีวิตผู้คนเอาไว้จากเมื่อก่อนที่แค่แผลเล็กน้อยก็อาจทำให้เชื้อโรคลุกลามได้ก็เป็นสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียได้เจริญพันธุ์กลายเป็นเชื้อโรคร้ายแรงจนผู้ป่วยไม่อาจต้านทานได้นั่นเอง 








การทดลองเริ่มต้นเมื่อ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง ต้องไปเป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาลสนามที่ประเทศฝรั่งเศสจึงทำให้ได้เห็นการเจ็บป่วยจากบาดแผลต่างๆจากการสู้รบของเหล่าทหาร ซึ่งทหารบางนายก็ล้มตายเสียชีวิตด้วยเหตุที่ว่า การฆ่าเชื้อด้วยยาฆ่าเชื้อที่ไม่มีประสิทธิภาพ     เฟลมมิงที่ไม่สามรถจะช่วยอะไรพวกเขาได้ ก็ได้แต่มองนายทหารตายไปต่อหน้าต่อตาวันละหลายคน ทั้งที่หลายรายน่าจะมีโอกาสที่จะต้องรอดชีวิต แต่เขาก็เสียชีวิตด้วยการติดเชื้อทางบาดแผลจนเป็นบาดทะยัก ภาพต่างๆเหล่านี้ได้เป็นกำลังใจใ้ห้ เฟลมมิง พยายามจะคิดค้นยาต่อต้านการแพร่พัธุ์และการเจริญเติบโตของเชื้อโรคเหล่านี้ให้ได้ 
   เมื่อสงครามจบสิ้นลง เฟลมมิ่งได้เข้าทำงานเป็นอาจารย์สอนที่วิทยาลัยเซนต์แมรี่ ในระหว่างที่เขาทำงานอยู่ที่วิทยาลัยเซนต์
แมรี่ เขาได้ทำการทดลองเกี่ยวกับแบคทีเรียตัวหนึ่งที่มีชื่อว่า สเตปฟิโลคอกคัส (Staphylococcus) ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิด
โรคเซฟติซีเมีย (Septicemia) หรือการติดเชื้อแบคทีเรียเลือด อาการของโรคจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดบาดแผลมาก และทำให้ 
เสียชีวิตได้ในเวลาต่อมา เฟลมมิ่งได้เพาะเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ลงบนจากแก้วเพื่อหาวิธีการฆ่าเชื้อโรคชนิดนี้ให้ได้ และยาฆ่าเชื้อต้อง
ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เขาพยายามค้นหาสารสกัดจากสิ่งต่าง ๆ หลายชนิด เช่น น้ำมูก เนื่องจากครั้งหนึ่งเฟลมมิ่งป่วยเป็นหวัด 
มีน้ำมูกไหล เขาคิดว่าน้ำมูกเป็นสิ่งที่ร่างกายผลิตขึ้นมา ดังนั้นเขาจึงใช้น้ำมูกหยดลงในจานที่มีแบคมีเรีย ผลปรากฏว่าสามารถฆ่าเชื้อ
แบคทีเรียได้ตายหมด แต่เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ไม่ร้ายแรงนัก จากนั้นเฟลมมิ่งได้ทดลองนำสิ่งที่ร่างกายผลิตได้ทดลอง ต่อมาคือน้ำตา 
เขาใช้น้ำตา 2-3 หยด หยดลงในจานแบคทีเรีย ปรากฏว่าน้ำตาสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ดีกว่าน้ำมูกเสียอีก แต่น้ำตาเป็นสิ่งที่หา 
ยากมาก เฟลมมิ่งจึงต้องหาอย่างอื่นมาทดแทน เขาพบว่าในน้ำตามีเอนไซม์ ซึ่งน่าจะเป็นสิ่งที่ทำลายแบคทีเรียได้ เฟลมมิ่งได้นำเล็บ 
เส้นผม และผิวหนังมาทดลอง แต่เอนไซม์ที่สกัดได้มักมีผลกระทบต่อร่างกาย



ในช่วงแรกๆของการค้นคว้านั้น เฟลมมิงล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่าเมื่อพยายามมุ่งหาไปที่ตัวยาที่จะทำร้ายเชื้อแบคทีเรียในตัวสัตว์ แต่ปรากฏว่าตัวยาเหล่านั้นกลับไปทำลายภูมิคุ้มกันของสัตว์มากกว่าที่จะไปทำลายเชื้อแบคทีเรีย ดังนั้นเฟลมมิงจึงสรุปได้ว่า ตัวยาที่เขาค้นคว้าอยู่นั้น ไม่สามารถเข้าไปทำปฏิกิริยาของเชื้อโรคได้ เมื่อมันเข้าไปทำงานในร่างกายมนุษย์ 


    ในที่สุดเขาก็ค้นพบเอนไซม์ชนิดหนึ่งในไข่ขาวชื่อว่า ไลโซไซม์ แต่การแยกไลโซไซม์บริสุทธิ์ออกมาทำให้ยากมาก อีกทั้ง
เฟลมมิ่งขาดแคลนเครื่องมืออันทันสมัย คน และเวลา ดังนั้นเขาจึงเขียนบทความลงในวารสารฉบับหนึ่ง เพื่อหาเงินทุนในการ
ทดลอง แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะไม่มีผู้ใดให้ความสนใจเลย ดังนั้นเรื่องนี้จึงต้องหยุดชะงักแต่เพียงเท่านี้ แต่การทดลอง
หาวิธีฆ่าเชื้อโรคของเฟลมมิ่งไม่ได้หยุดแต่เพียงเท่านี้ เขาได้ทำการค้นหาวิธีอื่นที่ง่ายกว่านี้





 ในปี ค.ศ.1928 เฟลมมิ่งได้เลื่อนตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ประจำภาควิชาแบคทีเรีย แต่เขาก็ยังคงทำการทดลองเพื่อค้นหา
วิธีฆ่าเชื้อโรคต่อไป เฟลมมิ่งได้ซื้ออุปกรณ์ชนิดใหม่สำหรับเพาะเชื้อแบคทีเรีย โดยลักษณะเป็นจานแก้วใส ก้นตื้น มีฝาปิด เฟลมมิ่ง
ได้ใส่พืชทะเลชนิดหนึ่งลงไปในจานทดลองที่มีแบคทีเรีย จากนั้นปิดฝาให้สนิทเพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งแปลกปลอมหล่นลงไป แล้วจึง
นำไปเก็บไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส ซึ่งเท่ากับอุณหภูมิในร่างกายมนุษย์ หน้าที่ในการดูแลจานแบคทีเรีย เฟลมมิ่งได้มอบ
ให้กับผู้ช่วยของเขา อยู่มาวันหนึ่งผู้ช่วยของเขาลืมปิดฝาจาน อีกทั้งยังตั้งทิ้งไว้บนโต๊ะใกล้กับหน้าต่างห้องทดลองอีกด้วย ปรากฏว่า
มีเชื้อราสีเทาเขียวมีลักษณะคล้ายกับราที่ขึ้นบนขนมปังอยู่เต็มไปหมด เฟลมมิ่งโกรธผู้ช่วยของเขามาก แต่ถึงอย่างนั้นเฟลมมิ่งก็ไม่ได้
ทิ้งจานทดลองอันนี้ และนำมาไว้ที่มุมหนึ่งของห้อง เมื่อเฟลมมิ่งได้ทำการทดสอบอีกครั้งหนึ่งอย่างละเอียดและพบว่า เชื้อราชนิดนี้ 
กินเชื้อแบคทีเรียนสเตปฟิโลคอกคัสได้ เฟลมมิ่งได้เริ่มเพาะเชื้อราชนิดนี้ในขวดเพาะ เมื่อเพาะชื้อราได้จำนวนมากพอ เฟลมมิ่งได้นำ 
เชื้อแบคทีเรีย 6 ชนิด ใส่ลงในจาน แล้วนำเชื้อราใส่ลงไป ปรากฏว่าเชื้อราสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ถึง 4 ชนิด ที่เหลืออีก 2 ชนิด 
เป็นแบคทีเรียชนิดร้านแรงที่ทำให้เกิดโรคอย่างแอนแทรกซ์ และคอตีบ
 จากนั้นเฟลมมิ่งได้สอบถามไปยังนักวิทยาศาสตร์ผู้มีความรู้ทั้งหลายว่า เชื้อราชนิดนี้ชื่ออะไร ในที่สุดเขาก็ได้คำตอบว่าเชื้อรา
ชนิดนี้จัดอยู่ในกลุ่มเพนนิซิเลียม ชื่อว่า เพนนิซิเลียม อุมรูบรุม ต่อมาเฟลมมิ่งได้นำเชื้อราชนิดนี้มาสกัดเป็นยาชื่อว่า เพนนิซิลิน 
เฟลมมิ่งได้นำยาชนิดนี้มาใช้กับสัตว์ทดลอง ซึ่งได้ผลเป็นอย่างดี แต่เขายังไม่กล้าใช้กับคน เพราะยังไม่สามารถสกัดเพนนิซิลิน
บริสุทธิ์ได้ เฟลมมิ่งได้ทดลองแยกเพนนิซิลินหลายวิธีแต่ก็ไม่สามารถแยกได้ ดังนั้นเฟลมมิ่งจึงเขียนบทความลงในวารสาร การแพทย์เล่มหนึ่ง ซึ่งมีนักวิทยาศาสตร์ให้ความสนใจ และสามารถแยกแพนนิซิลินบริสุทธิ์ได้สำเร็จ นักวิทยาศาสตร์ผู้นั้นก็คือ 
โฮวาร์ด วอลเทอร์ (Howard Walter) นักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรเลีย

         จากการค้นพบครั้งนี้ เฟลมมิ่งได้รับการยกย่องและรับมอบรางวัลจากสถาบัน และมหาวิทยาลัยต่าง ๆ กว่า 30 แห่ง ทั้งในยุโรป 
และสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ.1944 เฟลมมิ่งได้รับพระราชทานยศเป็นท่านเซอร์ และปี ค.ศ.1945 เฟลมมิ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขา
แพทย์ร่วมกับโฮวาร์ด วอลเทอร์ และเอิร์น โบร์ลเชน



เฟลมมิ่งเสียชีวิตด้วยโรคเส้นเลือดในหัวใจตีบ ในวันที่ 11 มีนาคม 
ค.ศ.1955 ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ








หนังสือ 10 นักวิทยาศาสตร์ผู้เปลี่ยนแปลงโลก 






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น