เออร์เนสต์ รัทเธอร์ฟอร์ด (Ernest Rutherford)
ผู้เปิดเผยโลกเร้นลับของอะตอม
เออร์เนสต์ รัทเธอร์ฟอร์ด เกิดเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ.2414 หรือในชื่อที่รู้จักกันทั่วไปว่า ลอร์ด รูเทอร์ฟอร์ด ได้รับการยกย่องให้เป็น "บิดาแห่งนิวเคลียร์ฟิสิกส์" เขาเป็นผู้บุกเบิก ทฤษฎีการโคจรของอะตอม ชื่อของเขาได้นำไปใช้เป็นชื่อธาตุที่ 104 คือ รัทเทอร์ฟอร์เดียม
ประวัติ
เออร์เนสต์ รูเทอร์ฟอร์ด เป็นบุตรชายของ เจมส์ รูเทอร์ฟอร์ด ชาวนาผู้ซึ่งอพยพมาจากเมืองเพิร์ธ ประเทศสก็อตแลนด์ กับ มาร์ธา (นามสกุลเดิม ธอมป์สัน) ซึ่งดั้งเดิมอาศัยอยู่ที่เมืองฮอร์นเชิช เมืองเล็กๆ ในแถบตะวันออกของประเทศอังกฤษ บิดามารดาของเขาย้ายมายังประเทศนิวซีแลนด์ เออร์เนสต์ เกิดในเมืองสปริงโกรฟ (ปัจจุบันคือ เมืองไบรท์วอเตอร์) ใกล้กับเมืองเนลสัน ประเทศนิวซีแลนด์ เขาศึกษาในเนลสันคอลเลจ และได้รับทุนการศึกษาเพื่อเรียนในแคนเตอร์บิวรีคอลเลจ (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยแห่งแคนเทอเบอรี่ ) ในปี 1895 หลังจากจบการศึกษาด้าน BA, MA และ BSc และใช้เวลา 2 ปีในการทำวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีไฟฟ้า รูเทอร์ฟอร์ดเดินทางไปยังประเทศอังกฤษเพื่อศึกษาต่อที่ ศูนย์วิจัยคาเวนดิช มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ (1895 - 1898) เขาได้รับการบันทึกไว้ในฐานะผู้ค้นพบระยะของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ในระหว่างการทดลองด้านกัมมันตภาพรังสี เขาเป็นผู้สร้างนิยามของรังสีอัลฟา และเบตา ซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกรังสี 2 ชนิดที่ปล่อยออกมาจากทอเรียมและยูเรเนียม เขาค้นพบมันระหว่างการตรวจสอบอะตอม อย่างไรก็ตาม เขาไม่ยอมรับว่าเป็นผู้ค้นพบรังสีแกมมา ซึ่งถูกค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส P.V. Villard ไม่นานหลังรูเทอร์ฟอร์ดรายงานการค้นพบของเขาเกี่ยวกับการแพร่กระจายของก๊าซกัมมันตภาพรังสี
ในปี 1898 รูเทอร์ฟอร์ดได้เป็นหัวหน้าด้านฟิสิกส์ของมหาวิทยาลัยแมคกิลล์ ในมอนทรีออล ประเทศแคนาดา ที่ซึ่งเขาสร้างผลงานจนได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี ในปี 1908
ในปี ค.ศ 1907 เออร์เนสต์ รัทเธอร์ฟอร์ด ก็เข้ารับตำแหน่งในคณะกรรมการฟิสิกส์ของ มหาวิทยาลัย แมนเชสเตอร์ (University of Man-chester) อีกตำแหน่งหนึ่ง ซึ่งที่นี่เขาได้มีโอกาสร่วมงานกับนักฟิสิกส์ด้านกัมมันตรังสีชื่อดัง ฮันส์ ไกเกอร์ (Hans Geiger) และ เออร์เนสต์ มาร์สเดน (Ernest Masden) โดยร่วมกันค้นคว้าวิจัยในเรืี่่่องโครงสร้างของอะตอมกันอย่างจริงจัง ซึง่ในระหว่างทำการค้ยคว้าอยู่นี่เอง พวกเขาก็ยังสามารถคิดค้นเครื่องมือสำหรับตรวจวัดการแผ่รังสีของอนุภาคที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นมเครื่องหนึ่งเรียกว่า "ไกเกอร์ เคาน์เตอร์" (Geiger Counter) ซึ่งตั้งตามชื่อของ ฮันส์ ไกเกอร์ แต่อันที่จริงแล้วเครื่องมือชิ้นนี้ถูกสร้างโดยอาศัยหลักการของ รัทเธอร์ฟอร์ด ที่่เคยประดิษฐ์เครื่องตรวจวัดกัมมัตรังสีขึ้นมาใช้ในห้องทดลองก่อนหน้านี้ ตั้งแต่ในครั้งที่เขาค้นพบอนุภาคอัลฟา และ เบตา ครั้งนั้นแล้ว
ชีวิตส่วนตัวของ รัทเธอร์ฟอร์ด
ในปี ค.ศ. 1931 รัทเธอร์ฟอร์ด ได้รับการปูนบำเหน็จจากผลงานการค้นพบทางวิทยาศาสตร์อย่างมากมายอันถือเป็นการเปิดสู่โลกวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ทางราชสำนักอังกฤษจึงมอบตำแหน่ง 'บารอน รัทเธอร์ฟอร์ด แห่ง เนลสัน (Baron Rutherford of Nalson)" ให้แก่เขาอีกตำแหน่งหนึ่ง รัทเธอร์ฟอร์ดยังคงทำงานของเขาจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ในที่สุดเขาก็เสียชีวิตลงด้วยโรคลำไส้ในวันทีื 19 ตุลาคม ปี ค.ศ. 1937 รวมอายุได้ 66 ปี สำหรับในชีวิตส่วนตัวนั้น รัทเธอร์ฟอร์ด สมรสกับ แมรี จอร์จีนา (Mary Georgina) ในปี ค.ศ. 1900 มีบุตรสาวด้วยกันเพียงคนเดียว ศพของเขาถูกนำไปฝังไว้ที่ วิหาร เวสต์มินเตอร์ (Westminster) สถานที่ซึ่งเป็นที่ฝังร่างของนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษหลายคน
หนังสือ 10 นักวิทยาศาสตร์ผู้เปลี่ยนแปลงโลก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น