วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ชาร์ลส ดาร์วิน (Charlas Darwin)

ชาร์ลส ดาร์วิน (Charlas Darwin)




เจ้าทฤษฎีพัฒนาการของชีวิต 
       ชาร์ลส ดาร์วิน เกิดวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ 1909 เป็นนักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ผู้ทำการปฏิวัติความเชื่อเดิม ๆ เกี่ยวกับที่มาของสิ่งมีชีวิต และเสนอทฤษฎีซึ่งเป็นทั้งรากฐานของทฤษฎีวิวัฒนาการสมัยใหม่ และหลักการพื้นฐานของกลไกการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) เขาตีพิมพ์ข้อเสนอของเขาในปี ค.ศ. 1859 ในหนังสือชื่อ The Origin of Species (กำเนิดของสรรพชีวิต) ซึ่งเป็นผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขา ผลงานนี้ปฏิเสธแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ทั้งหมดที่เคยมีมาก่อนหน้านี้เกี่ยวกับการกลายพันธุ์ของสปีชีส์ ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 ชุมชนวิทยาศาสตร์และสาธารณชนส่วนมากจึงยอมรับทฤษฎีวิวัฒนาการในฐานะที่เป็นความจริง อย่างไรก็ดี ยังมีคำอธิบายที่เป็นไปได้ทางอื่นๆ อีก และยังไม่มีการยอมรับทฤษฎีนี้เป็นเอกฉันท์ว่าเป็นกลไกพื้นฐานของวิวัฒนาการ ตราบจนกระทั่งเกิดแนวคิดการสังเคราะห์วิวัฒนาการยุคใหม่ (modern evolutionary synthesis) ขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930-1950 การค้นพบของดาร์วินยังถือเป็นรูปแบบการควบรวมทางทฤษฏีของศาสตร์เกี่ยวกับชีวิต ที่อธิบายถึงวามหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิต 



ความสนใจเกี่ยวกับธรรมชาติตั้งแต่วัยเด็กทำให้ดาร์วินไม่สนใจการศึกษาวิชาแพทย์ในมหาวิทยาลัยเอดินเบอระเลย แต่กลับหันไปช่วยการตรวจสอบสัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลัง เมื่อศึกษาที่หาวิทยาลัยเครมบริจด์ได้ช่วยกระตุ้นความหลงใหลในิทยาศาสตร์ธรรมชาติมากขึ้น การเดินทางออกไปยังท้องทะเลเป็นเวลา 5 ปีกับเรือบีเกิล (HMS Beagle) และโดยเฉพาะการเฝ้าสำรวจที่หมู่เกาะกาลาปากอสเป็นทั้งแรงบันดาลใจ และให้ข้อมูลจำนวนมาก ซึ่งเขานำมาใช้ในทฤษฎีของเขา ผลงานตีพิมพ์เรื่อง การผจญภัยกับบีเกิ้ล  (The Voyage of the Beagle) ทำให้เขามีชื่อเสียงในฐานะนักเขียน



ด้วยความพิศวงกับการกระจายตัวของสิ่งมีชีวิตในภูมิภาคที่แตกต่างกัน กับฟอสซิลที่เขาสะสมมาระหว่างการเดินทาง ดาร์วินเริ่มการศึกษาอย่างละเอียด และในปี ค.ศ. 1838 จึงได้สรุปเป็นทฤษฎีการคัดเลือกตามธรรมชาติ แม้ว่าเขาจะอภิปรายแนวคิดของตนกับนักธรรมชาติวิทยาหลายคน แต่ก็ยังต้องการเวลาเพื่อการวิจัยเพิ่มเติม โดยให้ความสำคัญกับงานด้านธรณีวิทยา เขาเขียนทฤษฎีของตนขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1858 เมื่อ อัลเฟรด ลัสเซล วอลเลซ ส่งบทความชุดหนึ่งที่อธิบายแนวคิดเดียวกันนี้มาให้เขา และทำให้เกิดการรวมงานตีพิมพ์ของทฤษฎีทั้งสองนี้เข้าด้วยกันในทันที งานของดาร์วินทำให้เกิดวิวัฒนาการสืบเนื่องต่อมา โดยดัดแปลงมาเป็นคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ที่มีอิทธิพลยิ่งต่อแนวคิดเรื่องความหลากหลายทางชีววิทยาในธรรมชาติ ในปี ค.ศ. 1871, เขาได้ตรวจดู ิวัฒนาการของมนุษย์ และการคัดเลือกทางเพศ ใน The Descent of Man, and Selection in Relation to Sex ตามด้วยThe Expression of the Emotions in Man and Animals. งานวิจัยเกี่ยวกับพืชได้ตีพิมพ์เป็นหนังสือชุดหลายเล่ม ในเล่มสุดท้ายเขาได้ตรวจสอบไส้เดือน  และอิทธิพลที่มันมีต่อดิน







ผลงานบางเด่นๆของ ชาร์ลส ดาร์วิน 
การศึกษาเกี่ยวพับพัฒนาการของมนุษย์


นอกจากนี้ ดาร์วิน ยังได้เคยออกเดินทางสำรวจและทำแผนที่ชายฝั่งอเมริกาใต้  ในทีแรก ดาร์วิน มีแผนจะต้องเดินทางเพียง 3 ปี แต่สุดท้ายเขาก็ยืดเวลาออกเป็น 5 ปี โดยมีประวัติการเดินทางเพื่อสำรวจดังนี้



การเดินทางเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1831 และใช้เวลาเดินทางรวมทั้งสิ้น 5 ปี ขณะที่เรือหลวงบีเกิลทำการสำรวจและทำแผนที่ชายฝั่งอเมริกาใต้นั้น ดาร์วินใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บนฝั่งเพื่อสำรวจด้านธรณีวิทยาและเก็บสะสมตัวอย่างสำหรับการศึกษาประวัติศาสตร์ สมดังที่ที่ฟิตซ์รอยตั้งใจไว้ เขาเขียนบันทึกผลการสังเกตการณ์และการคาดเดาทางทฤษฎีอย่างละเอียด ระหว่างช่วงหยุดพัก ดาร์วินส่งของตัวอย่างกลับไปยังเคมบริดจ์ พร้อมกับจดหมายซึ่งมีสำเนาบันทึกงานเขียน การเดินทางกับเรือบีเกิล (The Voyage of the Beagle) ไปให้ครอบครัวด้วย ดาร์วินค่อนข้างเชี่ยวชาญด้านธรณีวิทยา รวมถึงการสะสมเต่าทอง และการผ่าตัดศึกษาสัตว์ทะเล แต่ในสาขาอื่นๆ แล้วเขาแทบไม่รู้อะไรเลย และเก็บตัวอย่างเอาไว้เพื่อส่งต่อไปให้ผู้เชี่ยวชาญอื่นตรวจสอบ ดาร์วินเมาคลื่นมาก แต่กระนั้นก็ยังเขียนหนังสือมากมายขณะอยู่ในเรือ งานเขียนเชิงสัตววิทยาส่วนใหญ่เกี่ยวกับสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลัง เริ่มจากพลงตอนซึ่งเก็บได้ระหว่างช่วงทะเลสงบ
เมื่อเรือหยุดพักครั้งแรกที่ St. Jago ดาร์วินพบว่าแถบสีขาวที่อยู่ด้านบนินภูเขาไฟนั้นมีเปลือกหอยอยู่ด้วย ฟิตซ์รอยมอบหนังสือเล่มแรกในชุด Principles of Geology ของ Charles Lyell ให้เขาเพื่อศึกษาแนวคิดหลักความเป็นเอกภาพ(Uniformitarianism) ของผืนดินที่ค่อยๆ ดันตัวขึ้นหรือถล่มลงหลังจากเวลาผ่านไปนานๆดาร์วินเห็นเช่นเดียวกับ Lyell และได้เริ่มทฤษฎีและคิดจะเขียนหนังสือเกี่ยวกับธรณีวิทยา ดาร์วินดีใจมากที่พบ่าเขตร้อนที่บราซิล แต่ก็ไม่ชอบใจที่พบเห็นการใช้งานทาสที่นั่น
ที่ Punta Alta ใน Patagonia เขาได้ค้นพบครั้งใหญ่คือกระดูกฟอสซิลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ที่สูญพันธุ์ไปแล้วในหุบเขา ข้างกันกับเปลือกหอยใหม่ๆ ซึ่งบ่งชี้ว่าเป็นการสูญพันธุ์เมื่อไม่นานมานี้โดยที่ไม่มีร่องรอยการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศหรือหายนะภัยใดๆ เลย เขาแยกแยะว่าซากนั้นคือ Megatherium โดยดูจากฟันและความสัมพันธ์ของโครงกระดูกซึ่งในตอนแรกเขาคิดว่าดูเหมือน armadillo ในท้องถิ่นที่มีขนาดยักษ์ การค้นพบนี้กลายเป็นจุดสนใจอย่างมากเมื่อพวกเขากลับไปยังอังกฤษ ขณะขี่ม้าไปกับพวกกอโช (gaucho) สู่ด้านในแผ่นดินเพื่อสำรวจทางธรณีวิทยาและเก็บรวบรวมฟอสซิลเพิ่มขึ้น เขาได้รับมุมมองด้านสังคม การเมือง และานุษยวิทยา ในหมู่ชนพื้นเมืองกับชาวอาณานิคมในยุคของการปฏิวัติ และได้เรียนรู้ว่านก rhea สองชนิดนั้นอยู่แยกกันแต่มีอาณาเขตที่คาบเกี่ยวกัน ยิ่งสำรวจไกลลงไปทางใต้ เขาแลเห็นที่ราบลดหลั่นกันเป็นชั้น เต็มไปด้วยกรวดและเปลือกหอยเหมือนกับชายหาดที่ยกตัวขึ้นมา เขาอ่านหนังสือเล่มที่ 2 ของ Lyell และยอมรับมุมมองว่าด้วย "ศูนย์กลางการสร้างสรรค์" ของสปีชีส์ แต่การค้นพบของเขากับทฤษฎีที่คิดขึ้นมานั้นท้าทายต่อแนวคิดของ Lyell ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องราบรื่น กับการสูญพันธุ์ของบางสปีชีส์




ประวัติและชีวิตส่วนตัวของ ชาร์ส ดาร์วิน 

ชาร์ลส ดาร์วิน มีชื่อเต็มว่า ชาร์ส โรเบริ์ต ดาร์วิน (Charles Robert Darwin) เกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ 1909 ที่เมืองชริวส์บิวรี ชรอปไชร์ ประเทศอังกฤษ ในคฤหาสน์ของครอบครัวที่เรียกว่า " เธอะ เมาต์" (The Mount) สมับติของตระกูล ดาร์วิน อันมั่งคั่งสืบมาหลายชั่วอายุคน เป็นบุตรคนที่ 5 ในจำนวน 6 คน บิดาเป็นนายแพทย์และเป็นนายทุนเงินกู้ที่มีคนนับหน้าถือตา และด้วยความที่บิดาเป็นหมอ จึงได้คาดหวังให้ชาร์ลส ดาร์วิน ร่ำเรียนในสายอาชีพเดียวกัน เพราะเชื่อว่าอาชีพหมอจะเป็นอาชีพที่ เพราะเชื่อว่าอาชีพหมอจะเป็นอาชีพที่สามารถนำทั้งเกียรติและความมั่งคั่งมาสู่ตระกูลได้ แต่ ชาร์ล ดาร์วิน กลับไม่ชอบในอาชีพของพ่อเลย เขาไม่อยากเป็นหมอ แต่ต้องการจะเป็นนักพฤฏษศาสตร์และนักกีฏวิยามากกว่า ด้วยความที่เขาชอบสะสมแมลงและศึกษาพันธุ์พืชมาตั้งแต่เด็ก ดาร์วิน ใฝ่ใจในธรรมชาติมาก เขาไม่ชอบความรุนแรงหรือการฆ่าฟันเพื่อทำลายชีวิตกัน ด้วยเหตุนี้เขาจึงบอกว่าเขาเรียนหมอไม่ได้ เพราะทนเห็ฯฏารผ่าตัดไม่ได้ แต่ในที่สุดเขาก็โดนพ่อบังคับให้เรียนวิชาเภสัชเพื่อเตรียมตัวเข้าเรียนต่อแพทย์่ที่มหาวิทยาลัย เอดินเบิร์ก (University of Edinburgh) ในปี ค.ศ 1825 โดยมีพี่ชายที่ชื่อ เอรัสมุส ดาร์วิน (Erasmus Darwin) อีกคนหนึ่งเข้าเรียนอยู่ในคณะเดียวกัน ซึ่งในระหว่างนั้นทั้งสองก็เป็นลูกมือช่วยพ่อในการรักษาคนไข้ไปด้วย เพื่อทั้งสองจะได้เรียนรู้ประสบการณ์ในภาคปฏิบัติจากพ่ออีกทางหนึ่ง 






ชาร์ลส ดาร์วิน ในวัยเด็ก 




สำหรับชีวิตส่วนตัวของดาร์วิน นั้น เขาได้แต่งงานกับญาติสาวทางฝ่ายมารดาของเขา ชื่อว่า เอมมา เวด์กวูด (Emma Wedgwood) นามสกุล เวด์กวูด ก็คือนามสกุลของมารดา ดังนั้น เอมมา จึงเป็นญาติสนิทที่เกี่ยวพันทางสายเลือดเดียวกันกับเขาด้วย ซึ่งเรื่องนี้นับเป็นเรื่องที่ดาร์วินมีความกังวลมาตลอดชีวิต เพราะจากการศึกษาตามทฤษฎีชาติพันธุ์ของเขาเองนั้น ได้กล่าวถึงการสืบสายโลหิตของสิ่งมีชีวิตสายโลหิตเดียวกันที่จะทำให้เกิดลักษณะด้อยทางพันธุกรรม อาจนำไปสู่ปัญหาในรุ่นต่อๆไปได้ แต่ดาร์วิน ก็มีลูกกับเอมมาถึง 10 คน แม้ว่าจะทำให้เขาเกิดความกังวลอย่างมากว่าลูกๆของเขาจะเกิดมาไม่แข็งแรงก็ตาม ดาร์วิน จึงให้การดูแลลูกๆอย่างใกล้ชิด เวลาลูกๆของเขาป่วย เขาจะไม่เป็นอันทำอะไรเลย คอยประคบประหงมดูแลลูกๆอย่างไม่ให้ห่าง แต่ถึงกระนั้นเขาก็ต้องสูญเสียลูกอีก 2 คน ไป แต่ลูกอีก 8 คน กลับมีสุขภาพพลานมัยแข็งแรงดี และเติบโตมาเป็นคนดี เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงมากมาย บางคนก็ยังเจริญตามรอยพ่อ เป็นนักวิทยาศาสตร์ตามพ่อทุกย่างก้าวอีกด้วย 


ดาร์วิน เสียชีวิตลงในวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1992 








หนังสือ 10 นักวิทยาศาสตร์ผู้เปลี่ยนแปลงโลก 









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น